วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสน





ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสน

ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสน เป็นประติมากรรมในดินแดนสุวรรณภูมิที่นับว่าสร้างขึ้นโดยฝีมือช่างไทยเป็นครั้งแรก เกิดขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16-21 มีปรากฏแพร่หลายอยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ทางภาคเหนือของไทย แหล่งสำคัญอยู่ที่เมืองเชียงแสน วัสดุที ่นำมาสร้างงานปร ะติมากรรมที่ทั้งปูนปั้นและโลหะต่าง ๆ ที่มีค่าจนถึงทองคำบริสุทธิ์ ประติมากรรมเชียงแสนแบ่งได้เป็น 2 ยุค คือ

เชียงแสนยุคแรก มีทั้งการสร้างพระพุทธรูปและภาพพระโพธิสัตว์ หรือเทวดาประดับศิลปสถาน พระพุทธรูปโดยส่วนรวมมีพุทธลักษณะคล้า ยพระพุทธรูปอินเดียสมัยราชวงปาละ มีพระวรกายอวบอ้วน พระพักตร์กลมคล้ายผลมะตูม พระขนงโก่ง พระนาสิกโค้งงุ้ม พระโอษฐ์แคบเล็ก พระหนุเป็นปม พระรัศมีเหนือเกตุมาลาเป็นต่อมกลม ไม่นิยมทำไรพระสก เส้นพระสกขมวดเกษาใหญ่ พระอุระนูน ชายสังฆาฏิสั้น ตรงปลายมีลักษ ณะเป็นชายธงม้วนเข้าหากัน เรียกว่า เขี้ยวตะขาบ ส่วนใหญ่นั่งขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัยฐานที่รององค์ พระทำเป็นกลีบบัวประดับ มี ทั้งบัวคว่ำ บัวหงาย และทำเป็นฐานเป็นเขียงไม่มีบัวรองรับ ส่วนงานปั้นพระโพธิสัตว์ประดับเจดีย์วัดกู่เต้า และภาพเทวดาประดับหอไตรวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ มีสัดส่วนของร่างกาย สะโอดสะองใบหน้ายาวรูปไข่ ทรงเครื่องอาภรณ์เช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์ในศิลปะแบบปาละเสนะของอินเดียหรือแบบ ศรีวิชัย

เชียงแสนยุคหลัง มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีแบบของลัทธิลังกาวงศ์ จากสุโขทัยเข้ามาปะปนรูปลักษณะโดยส่วนรวมสะโอดสะ องขึ้น ไม่อวบอ้วนบึกบึน พระพักตร์ยาวเป็นรูปไข่มากขึ้น พระรัศมีทำเป็นรูปเปลว พระศกทำเป็นเส้นละเอียดและมีไรพระศกเป็น เส้นบาง ๆ ชายสังฆาฏิ ยาวลงมาจรดพระนาภี พระพุทธรูปโดยส่วนรวมนั่งขัดสมาธิราบ พระพุทธรูปที่นับว่าสวยที่สุดและถือเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปที่นับว่าสวยที่สุดถือเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปที่นับว่าสวยที่สุด พระพุทธสิหิงค์ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ พระพ ุทธรูปเชียงแสนนี้มักหล่อด้วยโลหะทองคำ และสำริด

คุณค่าของทัศนศิลป์

คุณค่าของทัศนศิลป์
ศิลปะเป็นผลงานของมนุษย์ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นมามีหลายลักษณะและวิธีการสร้างแตกต่างกันไป ได้แก่ ภาพเขียน รูปปั้น งานก่อสร้าง งานประพันธ์ รวมถึง เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องประดับตกแต่ง ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่สุดในการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนาจิตใจให้มีความสุขได้

ทัศนศิลป์ จึงเป็นศิลปะแขนงที่ให้คุณค่าแก่มนุษย์อีกหลายด้าน จะเห็นได้จากประโยชน์ดังต่อไปนี้
ด้านการอยู่อาศัย มนุษย์ได้พัฒนาที่อยู่อาศัยจากอดีตกาลจากถ้ำ เพิงผา มาเป็นบ้านแบบง่ายๆ ต่อมารู้จักต่อเติมตกแต่งให้สวยงามและมีประโยชน์มากขึ้น
ด้านเครื่องใช้สอยในชีวิตประจำวัน มนุษย์ได้พัฒนาโดยนำศิลปะเข้าไปเกี่ยวข้อง ในรูปของงานหัตถกรรม หรืองานอุตสาหกรรมศิลป์

นอกจากนำศิลปะมาประกอบให้เกิดประโยชน์โดยตรงแล้ว ยังมีส่วนช่วยโน้มน้าวจิตใจให้มีความรักในความงามของธรรมชาติ และความงามของศิลปะ ย่อมจะทำให้จิตใจอ่อนโยน ดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างสมบูรณ์แบบทั้งทางกายและจิตใจ
ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาทัศนศิลป์ คือสามารถนำความรู้และทักษะไปประยุกต์กับการเรียนการปฏิบัติงานในสาขาอื่น ๆ เช่น วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม สถาปัตยกรรม สังคมศึกษา สื่อสารมวลชน การออกแบบ การตกแต่งบ้านเรือน ตลอดจนการแต่งกายได้อีกด้วย
ดังนั้นการศึกษาทัศนศิลป์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตและคุณค่าทางด้านสุนทรียภาพ กระทั่งการรู้จักนำศิลปะมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันอย่างสมบูรณ์แบบ และยังสามารถนำคุณค่าเหล่านี้ไปพัฒนาศิลปวัฒนธรรมของชาติให้เจริญก้าวหน้าสืบต่อไป

ฐานของงานศิลปะ
ฐานของงานศิลปะประกอบด้วย
1. ฐานที่มา
2. ฐานของการรับรู้

ฐานที่มา
มนุษย์ + สิ่งแวดล้อม + สื่อ แล้วจึงได้กลายเป็น ศิลปะ หรือ
Man + Environment + Media กลายเป็น Art
ทัศนะของคนเราแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์ธรรมชาติ กล่าวคือ ถ้าเป็นภาพเขียนสิ่งของธรรมชาติหรือ ภาพมนุษย์ ก็จัดได้ว่าเป็นงานประเภทที่ลอกเลียนแบบธรรมชาติ ดังนั้นการที่จะหวังให้ศิลปินแสดงทัศนะให้ตรงกับความต้องการของผู้ดูจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก งานศิลปะก็คือ ผลงาน ของการแสดงความรู้สึกนึกคิดเฉพาะตัวของศิลปิน โดยผ่านสื่อกลาง(Media) ออกมาเป็นงานศิลปะ

ฐานที่มาของงานทัศนศิลป์ ประกอบด้วย

1.1 ศิลปิน (Artist) เป็นผู้ถ่ายทอดผลงานศิลปะโดยได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติสิ่งแวดล้อมด้วยความรู้สึกประทับใจหรือเกิดความสะเทือนอารมณ์ จึงถ่ายทอดออกมาตามอารมณ์ความรู้สึกและจินตนาการเฉพาะตน
1.2 สิ่งแวดล้อม (Environment) ได้แก่ ธรรมชาติ ความเชื่อทางศาสนา เรื่องจากประวัติศาสตร์ เรื่องราวจากวรรณคดี ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งเร้า เป็นตัวกระตุ้นให้มนุษย์เกิดอารมณ์ความรู้สึกและแสดงออกด้วยการถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานศิลปกรรม
1.3 สื่อ/วัสดุ (Media) ได้แก่ กระดาษ สี ดินสอ หิน ไม้ ปูน ฯลฯ ซึ่งศิลปินได้ซึมซับประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อม แล้วนำไปถ่ายทอดลงบนสื่อให้ออกมาเป็นรูปธรรม
1.4 ผลงานศิลปะ (ART) เป็นผลงานที่เกิดจากแรงบันดาลใจในสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ โดยผ่านสื่อให้ปรากฏเป็นรูปธรรมเรียกว่า "ผลงานศิลปะ"

ประติมากรรม (Sculpture)


เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการสร้างรูปทรง 3 มิติ มีปริมาตร มีน้ำหนักและกินเนื้อที่ในอากาศ โดยการใช้วัสดุชนิดต่าง ๆ วัสดุที่ใช้สร้างสรรค์งานประติมากรรมจะเป็นตัวกำหนด วิธีการสร้างผลงาน ความงามของงานประติมากรรม เกิดจากการแสงและเงาที่เกิดขึ้นในผลงานการสร้างงานประติมากรรมทำได้ 4 วิธี คือ


1. การปั้น (Casting) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุ ทีเหนียว อ่อนตัว และยึดจับตัว กันได้ดี วัสดุที่นิยมนำมาใช้ปั้นได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูน แป้ง ขี้ผึ้ง กระดาษ หรือ ขี้เลื่อยผสมกาว เป็นต้น
2. การแกะสลัก (Carving)เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่ แข็ง เปราะ โดยอาศัย เครื่องมือ วัสดุที่นิยมนำมาแกะ ได้แก่ ไม้ หิน กระจก แก้ว ปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
3. การหล่อ (Molding) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่หลอมตัวได้และกลับแข็ง ตัวได้ โดยอาศัยแม่พิมพ์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดผลงานที่เหมือนกันทุกประการตั้งแต่ 2 ชิ้น ขึ้นไป วัสดุที่นิยมนำมาใช้หล่อ ได้แก่ โลหะ ปูน แป้ง แก้ว ขี้ผึ้ง ดิน เรซิ่น พลาสติก ฯลฯ รำมะนา (ชิต เหรียญประชา)
4. การประกอบขึ้นรูป (Construction)เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ โดยนำวัสดุต่าง ๆ มา ประกอบเข้าด้วยกัน และยึดติดกันด้วยวัสดุต่างๆ การเลือกวิธีการสร้างสรรค์งานประติมากรรม ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ต้องการใช้ประติมากรรม ไม่ว่าจะสร้างขึ้นโดยวิธีใด จะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ แบบนูนต่ำ แบบนูนสูงและแบบลอยตัว ผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม เรียกว่า ประติมากร

ประเภทของงานประติมากรรม


1.ประติมากรรมแบบนูนต่ำ ( Bas Relief ) เป็นรูปที่เป็นนูนขึ้นมาจากพื้นหรือมีพื้นหลัง รองรับ มองเห็นได้ชัดเจนเพียงด้านเดียว คือด้านหน้า มีความสูงจากพื้นไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรูป จริง ได้แก่รูปนูนแบบเหรียญ รูปนูนที่ใช้ประดับตกแต่งภาชนะ หรือประดับตกแต่งอาคารทาง สถาปัตยกรรม โบสถ์ วิหารต่างๆ พระเครื่องบางชนิด
2.ประติมากรรมแบบนูนสูง ( High Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ในลักษณะเช่นเดียวกับแบบ นูนต่ำ แต่มีความสูงจากพื้นตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของรูปจริงขึ้นไป ทำให้เห็นลวดลายที่ลึก ชัดเจน และ และเหมือนจริงมากกว่าแบบนูนต่ำและใช้งานแบบเดียวกับแบบนูนต่ำ
3.ประติมากรรมแบบลอยตัว ( Round Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ที่มองเห็นได้รอบด้านหรือ ตั้งแต่ 4 ด้านขึ้นไป ได้แก่ ภาชนะต่าง ๆ รูปเคารพต่าง ๆ พระพุทธรูป เทวรูป รูปตามคตินิยม รูปบุคคลสำคัญ รูปสัตว์ ฯลฯ


สุนทรียศาสตร์

สุนทรียศาสตร์ เป็นคำมาจากศัพท์ภาษาบาลีว่า"สุนทรียะ" แปลว่าดี งาม สุนทรียศาสตร์จึงมีความหมายตามรากศัพท์ว่าวิชาที่ว่าด้วยความงาม ในความหมายของคำเดียวกันนี้ นักปราชญ์ ชาวเยอรมันชื่อAisthetics Baumgarten (1718 - 1762) ได้เลือกคำในภาษากรีกมาใช้คำว่า Aisthetics ซึ่งหมายถึงการรับรู้ตามความรู้สึก (Sense Perception) เป็นวิชาเกี่ยวกับเรื่องทฤษฎีแห่งความงามตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Aesthetics ส่วนในภาษาไทยใช้คำว่าสุนทรียศาสตร์หรือวิชาศิลปะทั่วไป ดังนั้น จึงถือว่าศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของสุนทรียศาสตร์หรือเมื่อกล่าวถึงสุนทรียศาสตร์เมื่อใดก็มักจะเกี่ยวข้องกับงานศิลปะนั่นเอง

ความสำคัญของสุนทรียศาสตร์และศิลปะ
เนื้อหาของสุนทรียศาสตร์นั้นว่าด้วยความคิดรวบยอดเรื่องความงาม การที่จะนิยามว่าความงามคืออะไรนั้นก็ยังไม่เป็นที่ยุติและเรื่องนี้ก็นับว่าเป็นปัญหาสำคัญของสุนทรียศาสตร์อย่างหนึ่ง แต่ปัญหาที่ว่าความงามคืออะไรนั้น นักศิลป์ทั่วไปไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าไรนัก แต่เขาจะพยายามทุ่มเททุกอย่างเพื่อสร้างความงามขึ้นด้วยศิลปะของเขา ซึ่งความสนใจดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นสัญชาติญาณของศิลป์ แต่จุดมุ่งหมายของสุนทรียศาสตร์ก็คือความพยายามยกระดับของการสร้างสรรค์และความสนใจในศิลปะซึ่งเป็นไปตามสัญชาตญาณนั้นให้เป็นพฤติกรรมที่เต็มไปด้วยปัญญา ทั้งนี้ก็เพื่อให้เข้าใจถึงหลักการขั้นมูลฐานของพฤติกรรมเกี่ยวกับศิลปะ ดังนั้น สุนทรียศาสตร์จึงเริ่มเรื่องด้วยการพิจารณาจากความสนใจในศิลปะและการสร้างสรรค์ศิลปะ ซึ่งคำตอบของสุนทรียศาสตร์ก็ได้จากการพยายามค้นหาความหมายของความงามนั่นเอง ความหมายของความงามก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้ของมนุษย์
จากประเด็นนี้จะเห็นได้ว่าหน้าที่ของนักสุนทรียศาสตร์ก็คือการค้นหาความหมายของความงามนั่นเอง แต่ก็มิได้หมายความว่าหน้าที่ของนักสุนทรียศาสตร์จะจำกัดอยู่แค่การค้นหาความงามจากความหมายของศิลปะที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงความงามของธรรมชาติด้วย
สำหรับคำว่า “สุนทรียศาสตร์” ความหมายที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้มีขอบเขตอิสระมากขึ้น ความหมายของคำนี้ในทางวิชาการก็คือ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการศึกษาศิลปะแขนงต่างๆ รวมถึงหลักการของศิลปะ กระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะ ประสบการณ์ทางศิลปะ นอกจากนี้ขอบเขตของความหมายยังได้ครอบคลุมไปถึงศิลปะกับชีวิตและสังคมร่วมทั้งความงามและปรากฏการณ์ที่งดงามของธรรมชาติอีกด้วย

ความงามในธรรมชาติและความงามในศิลปะ
ความงามในธรรมชาติ เป็นความงามที่ปราศจากการปรุงแต่ง เป็นความงามที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้ เข่นชมทิวทัศน์ทุ่งทานตะวัน หรือชมพระอาทิตย์อัศดงที่ภูผาเป็นต้น
ความงามในศิลปะ เกิดจากความรู้สึกภายในจิตใจ ที่อยากแสดงออกทางสุนทรียภาพจากประสบการณ์ต่างๆ และขึ้นอยู่กับการสัมผัสของแต่ละบุคคล

ทฤษฎีความงาม

ทฤษฎีความงาม เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมากในทางสุนทรียศาสตร์อีกอย่างหนึ่งก็คือ ตำแหน่งของความงาม หรือว่าความงามอยู่ที่ไหน ความงามนั้นไม่ว่าจะเป็นจิตวิสัยหรือวัตถุวิสัยก็ยังคงเป็นเรื่องที่ให้ความเห็นไม่ตรงกันอยู่นั่นเอง และทัศนะที่แตกต่างกันของนักสุนทรียศาสตร์เหล่านั้น ก็ก่อให้เกิดทฤษฎีทางความงามขึ้นหลาย ทฤษฎี ดังจะยกมาพอสังเขปดังนี้

1.ความงามเป็นคุณสมบัติของวัตถุ
ผู้ที่เชื่อในทฤษฎีนี้ เชื่อว่าวัตถุต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีความงามในตัวของวัตถุเอง เช่น สวยเพราะสีสัน ทรวดทรง พื้นผิว ไม่ว่าเราจะสนใจวัตถุนั้นหรือไม่ การที่เราเริ่มให้ความสนใจในวัตถุนั้น ก็เป็นเพราะความงามของวัตถุนั้นนั่นเอง
บุคคลที่ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ท่านหนึ่งก็คือ อริสโตเติล (Aristotle. 384-322 B.C) ท่านได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับความงามที่เป็นวัตถุวิสัยนี้ว่า สุนทรีธาตุนั้นมีจริง โดยไม่ขึ้นกับความคิดของมนุษย์ สุนทรีธาตุ มีมาตรการตายตัวแน่นอนในตัวเอง ดังนั้น ความงามของวัตถุจึงเป็นความสมบูรณ์อันเกิดจากรูปร่าง รูปทรง สีสัน สัดส่วนที่ประกอบกันเข้าอย่างกลมกลืนมีความสมดุล จึงถือว่าความงามที่เป็นวัตถุวิสัยหรือสุนทรียธาตุนั้นเป็นความงามที่สมบูรณ์แบบ

2.ความงามคือความรู้สึกเพลิดเพลิน
แนวคิดตามทฤษฎีนี้กล่าวคือ การที่เรามองเห็นคุณค่าของความงามในสิ่งใดใดก็แล้ว จิตเป็นตัวกำหนดความงาม ซึ่งเพลโต นักปรัชญาชาวกรีก (Plato 472 -347 B.C) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับเรื่องของความงามว่า ความงามที่แท้จริงนั้นอยู่ในโลกแห่งจินตนาการ (World of Idea) เขาเชื่อว่าความงามอยู่ที่จิตเป็นตัวกำหนด ส่วนความคิดนั้นอยู่ในห้วงแห่งจินตนาการที่อยู่นอกเหนือไปจากโลกนี้ กล่าวคือจิตต้องสร้างต้นแบบแห่งความงามขึ้น สิ่งใดที่มีลักษณะใกล้เคียงกับจินตนาการในต้นแบบมากเพียงใด ย่อมถือว่าเป็นความงามเพียงนั้น ความชอบความเพลิดเพลินในเป็นสิ่งแสดงถึงคุณค่าตามมา

3.ความงามเป็นสภาวสัมพัทธ์
นักคิดบางคนเชื่อว่าความงามไม่ใช่เป็นจิตวิสัยอย่างสิ้นเชิง และก็ไม่ใช่เป็นวัตถุวิสัยอย่างสิ้นเชิงเช่นกัน แต่เป็นภาวสัมพัทธ์ระหว่างวัตถุกับบุคคล ทัศนะนี้ก็นับว่ามีส่วนถูกต้องอยู่ที่การยอมรับว่าทั้งบุคคลและ วัตถุมีความสำคัญด้วยกันทั้งคู่ในการตีคุณค่าทางสุนทรียะ แต่เราก็ต้องยอมรับว่าความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งสองสิ่งดังกล่าวนั้น เป็นรากฐานรองรับคำว่าคุณค่าทางสุนทรียะ เพียงแต่ว่าตัวความสัมพันธ์เองนั้นไม่ใช่เป็นตัวความงามหรือตัวคุณค่าทางสุนทรียะ เพราะฉะนั้นการที่จะอธิบายว่าความงามคือสภาวสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจึงเป็นคำอธิบายที่ไม่ถูกนัก

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550